ด้วยในสังคมไทยนั้นดูเหมือนจะไม่มีการกระทำอันใดที่ต้องอาศัยความอาจหาญมั่นใจเท่ากับการวิจารณ์ เพราะสังคมไทยมีเวรกรรมตั้งอยู่และโตขึ้นมาบนรากฐานความเยินยอสรรเสริญ จึงไม่ใช่เรื่องประหลาดแต่อย่างใด ที่เราได้พบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เสียผู้เสียคนไปเพราะการประจบประแจงและด้วยเหตุผลแห่งความเคยชินดังนั้นคำสิงห์ ศรีนอกปากช่อง นครราชสีมา, 25 พฤษภาคม 2515ใน ลาว คำหอม (สนพ. นักเขียน, 2544)ในฐานะสำนักพิมพ์หน้าใหม่ที่โผล่ขึ้นมาอย่างดุ่ยๆ และออกจะโดดเดี่ยว ข้าพเจ้าเพิ่งจะบังเอิญได้มีโอกาสติดต่อกับ “ลาว คำหอม” หรือ คำสิงห์ ศรีนอก เป็นครั้งแรกก็เมื่อคราวที่จะพิมพ์ ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน (2553) เพื่อขออนุญาตนำเรื่องสั้น “อีกไม่นานเธอจะรู้” ของลาว คำหอม มาพิมพ์ซ้ำในหนังสือเล่มดังกล่าว ในระหว่างการพูดคุยสั้นๆ ทางโทรศัพท์เพียงไม่กี่ครั้งนั่นเองที่ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบว่า “ลุงคำสิงห์” ไม่เพียงรู้จักวารสาร อ่าน แต่ยังติดตามผลงานและได้ช่วยสนับสนุนซื้อแจกตามโรงเรียนในละแวกบ้านไปแล้วหลายเล่ม และในคราวหนึ่งของการสนทนา ลุงคำสิงห์ปรารภให้ฟังว่า ได้มีการเสนอแนะกันในหมู่เพื่อนพ้องนักเขียนใกล้ชิดของลุงคำสิงห์ว่าน่าจะถึงเวลาที่จะนำฟ้าบ่กั้น กลับมาพิมพ์ซ้ำใหม่อีกคำรบแล้ว ลุงคำสิงห์เองมิได้ขัดข้อง แต่ได้เสนอไปว่าหากจะมีการพิมพ์ซ้ำ อยากจะให้สำนักพิมพ์อ่านเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะขอให้นำบทความ “ฟ้าบ่กั้น หยังว่าให้ห่างกัน” โดย อ. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ที่เคยตีพิมพ์ในวารสาร อ่าน มาพิมพ์รวมกันไว้ด้วย ข้อเสนอนี้ทางสำนักพิมพ์อ่านเห็นเป็นอย่างไรข้าพเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไรไปได้นอกจากตื่นเต้น ตื้นตัน และตกลงรับตามข้อเสนอนั้นด้วยความยินดี==========บางส่วนของคำนำสำนักพิมพ์/ไอดา อรุณวงศ์
ด้วยในสังคมไทยนั้นดูเหมือนจะไม่มีการกระทำอันใดที่ต้องอาศัยความอาจหาญมั่นใจเท่ากับการวิจารณ์ เพราะสังคมไทยมีเวรกรรมตั้งอยู่และโตขึ้นมาบนรากฐานความเยินยอสรรเสริญ จึงไม่ใช่เรื่องประหลาดแต่อย่างใด ที่เราได้พบว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่เสียผู้เสียคนไปเพราะการประจบประแจงและด้วยเหตุผลแห่งความเคยชินดังนั้นคำสิงห์ ศรีนอกปากช่อง นครราชสีมา, 25 พฤษภาคม 2515ใน ลาว คำหอม (สนพ. นักเขียน, 2544)ในฐานะสำนักพิมพ์หน้าใหม่ที่โผล่ขึ้นมาอย่างดุ่ยๆ และออกจะโดดเดี่ยว ข้าพเจ้าเพิ่งจะบังเอิญได้มีโอกาสติดต่อกับ “ลาว คำหอม” หรือ คำสิงห์ ศรีนอก เป็นครั้งแรกก็เมื่อคราวที่จะพิมพ์ ในกระจก: วรรณกรรมและการเมืองสยามยุคอเมริกัน (2553) เพื่อขออนุญาตนำเรื่องสั้น “อีกไม่นานเธอจะรู้” ของลาว คำหอม มาพิมพ์ซ้ำในหนังสือเล่มดังกล่าว ในระหว่างการพูดคุยสั้นๆ ทางโทรศัพท์เพียงไม่กี่ครั้งนั่นเองที่ทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบว่า “ลุงคำสิงห์” ไม่เพียงรู้จักวารสาร อ่าน แต่ยังติดตามผลงานและได้ช่วยสนับสนุนซื้อแจกตามโรงเรียนในละแวกบ้านไปแล้วหลายเล่ม และในคราวหนึ่งของการสนทนา ลุงคำสิงห์ปรารภให้ฟังว่า ได้มีการเสนอแนะกันในหมู่เพื่อนพ้องนักเขียนใกล้ชิดของลุงคำสิงห์ว่าน่าจะถึงเวลาที่จะนำฟ้าบ่กั้น กลับมาพิมพ์ซ้ำใหม่อีกคำรบแล้ว ลุงคำสิงห์เองมิได้ขัดข้อง แต่ได้เสนอไปว่าหากจะมีการพิมพ์ซ้ำ อยากจะให้สำนักพิมพ์อ่านเป็นผู้ดำเนินการ โดยจะขอให้นำบทความ “ฟ้าบ่กั้น หยังว่าให้ห่างกัน” โดย อ. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ที่เคยตีพิมพ์ในวารสาร อ่าน มาพิมพ์รวมกันไว้ด้วย ข้อเสนอนี้ทางสำนักพิมพ์อ่านเห็นเป็นอย่างไรข้าพเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไรไปได้นอกจากตื่นเต้น ตื้นตัน และตกลงรับตามข้อเสนอนั้นด้วยความยินดี==========บางส่วนของคำนำสำนักพิมพ์/ไอดา อรุณวงศ์